วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของขลุ่ยรีคอร์เดอร์

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ

1. ส่วนบน หรือส่วนหัว ( Head Joint )          

กำพวด (Mouthpiece) ใช้ลมบังคับทิศทางเดินภายในท่อลมไปกระทบกับปากนกแก้ว(window) และรูนิ้วบังคับเสียงเพื่อให้เกิดเสียงสูงต่ำ ดังเบา ยาวสั้น ได้ตามต้องการ
                                                       
  ส่วนหัวขลุ่ยรีคอร์เดอร์
กำพวด(Mouthpiece) 
ปากนกแก้ว อยู่บนเลาขลุ่ยตรงสุดปลายกำพวดตรงกับช่องปากเป่าพอดี ห่างจากกำพวดด้านบนประมาณ   นิ้ว ปากนกแก้วมีลักษณะเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวทั้งสิ้นประมาณ   ซ.ม. กว้างประมาณ 1 ซ.ม. แต่ส่วนยาวนั้นเท่าที่เป็นรูจริงๆ ยาวประมาณ   ซ.ม. ส่วนที่เหลือด้านล่างจะเซาะเอียงจากผิวลำตัวเข้าไปทะลุด้านในของตัวขลุ่ยเพื่อให้เกิดเสียง

2. ส่วนกลาง หรือส่วนลำตัว ( Body Joint ) 

คือ รูนิ้ว รูนิ้วคู่ และ ส่วนลำตัวขลุ่ย
ส่วนลำตัว

       รูนิ้วและรูนิ้วคู่ รูเหล่านี้จะเจาะอยู่ห่างด้านบนของลำตัวขลุ่ย (ตรงกันข้ามกับรูค้ำ)  ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 10 รูด้วยกัน รูแรกอยู่ห่างจากกำพวดประมาณ   นิ้ว ส่วนรูสุดท้ายอยู่ห่างจากลำโพง   นิ้ว รูแต่ละรูเจาะห่างกันประมาณ 1 นิ้ว รูเหล่านี้มีไว้สำหรับ ปิด – เปิด เสียงให้เกิดเป็นเสียงสูงต่ำต่างๆ
      ส่วนลำตัว อยู่ช่วงกลางของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ มีลักษณะเป็นท่อกลมๆ  เจาะรูเพื่อให้เกิดระดับเสียงที่แตกต่างกัน โดยใช้นิ้ว ปิด – เปิดรูบังคับเสียงตามต้องการ ลำตัวขลุ่ยนั้นมาสามารถสร้างเสียงจากตัวเองได้จึงต้องอาศัยปากเป่าคือ ส่วนบน (Head Joint) เพื่อให้เกิดเสียง

3. ส่วนล่าง หรือ ส่วนลำโพง (Bell joint)

อยู่ตรงปลายสุดของขลุ่ยรีคอร์เดอร์  ด้านปลายมีลักษณะบานออกมาคล้ายดอกลำโพง           ทั้งนี้ก็เพื่อให้เสียงออกมามีความดังกังวาน  ส่วนนี้นิยมทำให้ถอดออกจากส่วนลำตัวได้เพื่อขยับให้เกิดความพอดีกับลักษณะความยาวนิ้วก้อยของผู้เป่า
ส่วนลำโพง

การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น