ประวัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์
รีคอร์เดอร์ได้พัฒนามาตั้งแต่สมัยกลาง คือ ราวปี ค.ศ. 450 ถึงปี ค.ศ. 1450 เป็นที่นิยมมากในยุคเรเนซองค์ จนกระทั่งรุ่งเรืองสุดขีดในสมัยบาโร้ค ดังปรากฎงานประพันธ์สำหรับขลุ่ยรีคอร์เดอร์โดยคีตกวีคนสำคัญๆ เช่น เพอเชล แฮนเดิล และมาหมดความนิยมในสมัยคลาสสิค เมื่อฟลุ้ทแบบเป่าด้านขวางที่เรียกว่า “เยอรมันฟลุ้ท” (German Flute) ได้นำมาใช้ใน วงซิมโฟนีแทนรีคอร์เดอร์ และได้รับความนิยมแทนที่รีคอร์เดอร์เนื่องจากเสียงที่เบามากของขลุ่ย รีคอร์เดอร์เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดนตรีประเภทลมไม้ อย่างเช่น ฟลุ้ท ในปี ค.ศ.1919 ขลุ่ย รีคอร์เดอร์ได้รับความนิยมและกลับมาเล่นกันใหม่บุคคลสำคัญยิ่งต่อการกลับมาของขลุ่ยรีคอร์เดอร์คือ อาร์โนลด์ ดอลเมท์ช (Arnold Dolmetsch) นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีชาวอังกฤษ ได้ฟื้นฟูปรับปรุงขลุ่ยรีคอร์เดอร์ให้ง่ายต่อการปฏิบัติมากขึ้นความนิยมได้แพร่หลายอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความสดใสกังวานและความไพราะของขลุ่ย นอกจากนั้นระดับเสียง (pitch) ก็ทำเป็นมาตรฐานกลายเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญยิ่งในระบบการศึกษา เนื่องจากมีราคาที่ไม่แพงและสะดวกในการพกพา
ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ชนิดต่างๆ |
ขลุ่ยรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่โบราณ นักประวัติศาสตร์ทางดนตรีได้กล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 ซึ่งเครื่องเป่าลมไม้ในตระกูลขลุ่ยที่ได้รับความนิยมในขณะนั้นได้แก่ ฟลาโกเล็ท (Flagolet) ลักษณะมีรูนิ้วค้ำ 2 รู และรูนิ้ว 4 รู ต่อมาในตอนปลาย ศริสต์ศตวรรษที่ 14 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ตระกูลขลุ่ยได้พัฒนาขึ้น และด้วยเสียงที่มีความไพเราะนุ่มนวลซึ่งเกิดจากการเปรียบเทียบเครื่องลมไม้ด้วยกันในยุคสมัยนั้น ขลุ่ยจึงถูกเรียกว่า “รีคอร์เดอร์” และได้รับความนิยมเข้ามาแทนที่ฟลาโกเล็ท (Flagolet) ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีในตระกูลลมไม้ ทั้งยังเป็นที่นิยมอย่างมากในอังกฤษ และกล่าวได้ว่าประเทศที่กำเนิดขลุ่ยรีคอร์เดอร์คือประเทศอังกฤษ
ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ในยุคแรกๆจะมีรูปิด 4 หรือ 6 รูด้านหน้า หรือมากกว่า และรูนิ้วด้านหลังอีก 1 รู โดยจะใช้ในการบรรเลงบทเพลงต่างชนิดกัน ต่อมาในปลายคริสต์ศวรรษที่ 15 จึงได้พัฒนามาเป็น 7 รูด้านหน้า และในระยะหลังได้พัฒนาขึ้นโดยการเติมรูเล็กๆ เพื่อที่สามารถผลิตเสียงแบบครึ่งเสียง รีคอร์เดอร์แต่เดิมเป็นท่อนเดียวและในปลายศริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีช่างไม้ คือ ซอง อ๊อดเทเทอรี ช่างในกรุงปารีสได้สร้างเป็น 3 ท่อน
เว็บเหี้ยมาก
ตอบลบ