วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของขลุ่ยรีคอร์เดอร์

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ

1. ส่วนบน หรือส่วนหัว ( Head Joint )          

กำพวด (Mouthpiece) ใช้ลมบังคับทิศทางเดินภายในท่อลมไปกระทบกับปากนกแก้ว(window) และรูนิ้วบังคับเสียงเพื่อให้เกิดเสียงสูงต่ำ ดังเบา ยาวสั้น ได้ตามต้องการ
                                                       
  ส่วนหัวขลุ่ยรีคอร์เดอร์
กำพวด(Mouthpiece) 
ปากนกแก้ว อยู่บนเลาขลุ่ยตรงสุดปลายกำพวดตรงกับช่องปากเป่าพอดี ห่างจากกำพวดด้านบนประมาณ   นิ้ว ปากนกแก้วมีลักษณะเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวทั้งสิ้นประมาณ   ซ.ม. กว้างประมาณ 1 ซ.ม. แต่ส่วนยาวนั้นเท่าที่เป็นรูจริงๆ ยาวประมาณ   ซ.ม. ส่วนที่เหลือด้านล่างจะเซาะเอียงจากผิวลำตัวเข้าไปทะลุด้านในของตัวขลุ่ยเพื่อให้เกิดเสียง

2. ส่วนกลาง หรือส่วนลำตัว ( Body Joint ) 

คือ รูนิ้ว รูนิ้วคู่ และ ส่วนลำตัวขลุ่ย
ส่วนลำตัว

       รูนิ้วและรูนิ้วคู่ รูเหล่านี้จะเจาะอยู่ห่างด้านบนของลำตัวขลุ่ย (ตรงกันข้ามกับรูค้ำ)  ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 10 รูด้วยกัน รูแรกอยู่ห่างจากกำพวดประมาณ   นิ้ว ส่วนรูสุดท้ายอยู่ห่างจากลำโพง   นิ้ว รูแต่ละรูเจาะห่างกันประมาณ 1 นิ้ว รูเหล่านี้มีไว้สำหรับ ปิด – เปิด เสียงให้เกิดเป็นเสียงสูงต่ำต่างๆ
      ส่วนลำตัว อยู่ช่วงกลางของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ มีลักษณะเป็นท่อกลมๆ  เจาะรูเพื่อให้เกิดระดับเสียงที่แตกต่างกัน โดยใช้นิ้ว ปิด – เปิดรูบังคับเสียงตามต้องการ ลำตัวขลุ่ยนั้นมาสามารถสร้างเสียงจากตัวเองได้จึงต้องอาศัยปากเป่าคือ ส่วนบน (Head Joint) เพื่อให้เกิดเสียง

3. ส่วนล่าง หรือ ส่วนลำโพง (Bell joint)

อยู่ตรงปลายสุดของขลุ่ยรีคอร์เดอร์  ด้านปลายมีลักษณะบานออกมาคล้ายดอกลำโพง           ทั้งนี้ก็เพื่อให้เสียงออกมามีความดังกังวาน  ส่วนนี้นิยมทำให้ถอดออกจากส่วนลำตัวได้เพื่อขยับให้เกิดความพอดีกับลักษณะความยาวนิ้วก้อยของผู้เป่า
ส่วนลำโพง

การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์


ประวัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์


ประวัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์

              รีคอร์เดอร์ได้พัฒนามาตั้งแต่สมัยกลาง คือ ราวปี ค.ศ. 450 ถึงปี ค.ศ. 1450 เป็นที่นิยมมากในยุคเรเนซองค์ จนกระทั่งรุ่งเรืองสุดขีดในสมัยบาโร้ค ดังปรากฎงานประพันธ์สำหรับขลุ่ยรีคอร์เดอร์โดยคีตกวีคนสำคัญๆ เช่น เพอเชล  แฮนเดิล และมาหมดความนิยมในสมัยคลาสสิค เมื่อฟลุ้ทแบบเป่าด้านขวางที่เรียกว่า “เยอรมันฟลุ้ท” (German Flute) ได้นำมาใช้ใน    วงซิมโฟนีแทนรีคอร์เดอร์ และได้รับความนิยมแทนที่รีคอร์เดอร์เนื่องจากเสียงที่เบามากของขลุ่ย     รีคอร์เดอร์เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดนตรีประเภทลมไม้ อย่างเช่น ฟลุ้ท ในปี ค.ศ.1919 ขลุ่ย   รีคอร์เดอร์ได้รับความนิยมและกลับมาเล่นกันใหม่
บุคคลสำคัญยิ่งต่อการกลับมาของขลุ่ยรีคอร์เดอร์คือ อาร์โนลด์ ดอลเมท์ช (Arnold Dolmetsch) นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีชาวอังกฤษ ได้ฟื้นฟูปรับปรุงขลุ่ยรีคอร์เดอร์ให้ง่ายต่อการปฏิบัติมากขึ้นความนิยมได้แพร่หลายอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความสดใสกังวานและความไพราะของขลุ่ย นอกจากนั้นระดับเสียง (pitch) ก็ทำเป็นมาตรฐานกลายเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญยิ่งในระบบการศึกษา เนื่องจากมีราคาที่ไม่แพงและสะดวกในการพกพา

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ชนิดต่างๆ

               ขลุ่ยรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่โบราณ นักประวัติศาสตร์ทางดนตรีได้กล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 ซึ่งเครื่องเป่าลมไม้ในตระกูลขลุ่ยที่ได้รับความนิยมในขณะนั้นได้แก่ ฟลาโกเล็ท (Flagolet) ลักษณะมีรูนิ้วค้ำ 2 รู และรูนิ้ว 4 รู ต่อมาในตอนปลาย ศริสต์ศตวรรษที่ 14 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ตระกูลขลุ่ยได้พัฒนาขึ้น และด้วยเสียงที่มีความไพเราะนุ่มนวลซึ่งเกิดจากการเปรียบเทียบเครื่องลมไม้ด้วยกันในยุคสมัยนั้น ขลุ่ยจึงถูกเรียกว่า “รีคอร์เดอร์” และได้รับความนิยมเข้ามาแทนที่ฟลาโกเล็ท (Flagolet) ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีในตระกูลลมไม้ ทั้งยังเป็นที่นิยมอย่างมากในอังกฤษ และกล่าวได้ว่าประเทศที่กำเนิดขลุ่ยรีคอร์เดอร์คือประเทศอังกฤษ
                ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ในยุคแรกๆจะมีรูปิด 4 หรือ 6 รูด้านหน้า หรือมากกว่า และรูนิ้วด้านหลังอีก 1 รู โดยจะใช้ในการบรรเลงบทเพลงต่างชนิดกัน ต่อมาในปลายคริสต์ศวรรษที่ 15 จึงได้พัฒนามาเป็น 7 รูด้านหน้า และในระยะหลังได้พัฒนาขึ้นโดยการเติมรูเล็กๆ เพื่อที่สามารถผลิตเสียงแบบครึ่งเสียง รีคอร์เดอร์แต่เดิมเป็นท่อนเดียวและในปลายศริสต์ศตวรรษที่ 17        ได้มีช่างไม้ คือ ซอง  อ๊อดเทเทอรี ช่างในกรุงปารีสได้สร้างเป็น 3 ท่อน

สอนเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์




วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วิธีแก้ปํญหาเล่นวีดีโอคาราโอเกะในวินโดว์ 8 ไม่ได้

วิธีแก้ปํญหาเล่นวีดีโอคาราโอเกะในวินโดว์ 8 ไม่ได้ 


ปัญหาของผมคือเล่นได้นะแต่เวลาเปิดวีดีโอคาราโอเกะขึ้นมามันก็เล่นแต่เราทำอะไรไม่ได้คลิกเม้าส์ทำอะไรไม่ได้เลย เหมือนวีดีโอมันบังอยู่ พอจบเพลงจอก็ดำต้อง Alt+f4 ปิดออกอย่างเดียว
ผมหาวิธีมาจนตาลายยังหาวิธีแก้ไม่ได้เลย อัพเดดโปรแกรม การ์ดจอ อะไรๆต่อมิอะไรตามที่เขาบอกในเว็บต่างๆ ก็ยังไม่ได้ซักที
npn[n[n=

วันนี้ผมมีวิธีแก้ใหม่มีอีก ได้ผล100% (สำหรับผมนะ)


วันนี้ผมมีโปรแกรมที่จะทำให้เราเล่นวีดีโอคาราโอเกะในวินโดว์ 8 ได้แล้วครับ หลังจากที่ให้วิธีข้างล้างที่ได้โพสไว้ก่อนมานาน วันนี้ก็ได้กลับมาหาวิธีที่ที่มันดีๆกว่าเก่า แล้วลองโหลดโปรแกรม media player codec pack.v4.3.2ติดตั้งดู ปรากฏว่าสามารถเล่นวีดีโอคาราโอเกะได้ แต่ผมก็มีปัญหาอีกแหละ คือเล่นได้เพลงเดียว ไม่ยอมเล่นเพลงต่อไปเซงเลยผมก็เลยถอนโปรแกรม media player codec pack.v4.3.2ออกปรากฏว่าสามารถเล่นวีดีโอได้ต่อเนื่อง

นี้เป็นวิธีมั่วๆของผมนะ อาจมีหลายวิธีอีกมากมาย โปรดใช้วิจารณญาณ แหะๆ..



  • สเต็ปที่ 1

  • สรุปวิธีทำ
  •  1. ให้โหลดโปรแกรม media player codec pack.v4.3.2 (หรือ เวอร์ชั่นอื่น)มาก่อนกดโหลดตรง Direct Download
  •  2. ติดตั้งลงเครื่อง เสร็จรีสตาร์สเครื่อง
  •  3. ถอนโปรแกรม media player codec pack.v4.3.2 ที่เราติดตั้งเมื่อกี้ออกคืนรีสตาร์สเครื่อง
  • แค่นี้ก็สามารถเล่นได้ทุกอย่างแล้วครับ 
  • สรุปง่ายๆอีกที คือ ลงแล้ว ถอนออกนั่นเอง 
  • เสริมอีกนิดนะครับ ต้องลงโปรแกรม k-lite codec pack ไว้ในเครื่องด้วยนะครับ



เหตุที่ต้องถอนออก คือคอมผมถ้าไม่ถอนออกมันจะเล่นไม่ต่อเนื้อง แต่ถ้าเครื่องใครไม่มีปัญหานี้ก็ไม่ต้องถอนออกก็ได้ หรือเหตุอาจเกิดจากเวอร์ชั่นของโปรแกรม media player codec pack.v4.3.2 ก็ได้ ผมได้ลองเวอร์ชั่นอื่นดู หรืออา